วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

มาเลเซียประกาศปิด 100 โรงเรียน หลังพบสารเคมีรั่วไหลในแม่น้ำ

มาเลเซียประกาศปิดโรงเรียนกว่า 100 แห่ง หลังพบสารเคมีรั่วไหลในแม่น้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เเม่น้ำในมาเล

 
 
ทางการมาเลเซียประกาศปิดโรงเรียนกว่า 100 แห่งในรัฐยะโฮร์ในวันนี้ หลังจากพบว่ามีการรั่วไหลของสารเคมีลงในแม่น้ำ
ทั้งนี้ นายมาสลี มาลิค รมว.ศึกษาธิการ ประกาศปิดโรงเรียนทั้ง 111 แห่งในเขตปาสีร์ กูดังในรัฐยะโฮร์ หลังจากได้รับรายงานข้อมูลล่าสุดจากคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติของรัฐ
นอกจากนี้ สุลต่าน อิบราฮิม อิสมาอิลแห่งรัฐยะโฮร์ ได้สั่งให้มีการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว และหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี
ทั้งนี้ ปาสีร์ กูดังเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนสิงคโปร์ โดยมีโรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งในธุรกิจปิโตรเคมี, น้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ
เมื่อวานนี้ มาเลเซียประกาศปิดโรงเรียนกว่า 13 แห่ง หลังจากที่นักเรียน และประชาชน 260 คนถูกส่งตัวเข้ารับการรักษา หลังจากมีอาการหายใจติดขัด, คลื่นไส้ และอาเจียน เนื่องจากสัมผัสกับสารเคมี
ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ได้ทำการอพยพประชาชนมากกว่า 1,000 คนในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน หลังพบว่ามีผู้ลักลอบทิ้งสารเคมีในแม่น้ำใกล้กับโรงเรียน 2 แห่ง

โรงงานสารเคมีในจีนระเบิดสนั่น เหตุน้ำมันรั่วไหล ดับ6ราย ซ้ำดินไหวขนาด3 (คลิป)

โรงงานสารเคมีในจีนระเบิดสนั่น เหตุน้ำมันรั่วไหล-ดับแล้ว6ราย-ดินไหวขนาด3


21 มี.ค.62 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เกิดระเบิดที่โรงงานผลิตยาฆ่าแมลง เฉินเจียกัง เทียนเจียยี ในเมืองหยางเฉิง มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 6 ศพ ได้บาดเจ็บสาหัสอีก 30 คน สามารถช่วยเหลือผู้รอดชีวิตได้ 31 คน
สาเหตุระเบิดในครั้งนี้เกิดจากน้ำมันเบนซินรั่วไหลในพื้นที่การผลิตของโรงงาน แรงระเบิดยังสร้างความเสียหายให้กับอาคารที่พักอาศัยและโรงเรียนใกล้เคียง รวมถึงรถยนต์นับสินคันที่จอดในบริเวณดังกล่าว ด้านเจ้าหน้าที่ได้ระดมรถดับเพลิง 41 คัน และนักดับเพลิง 188 นาย เข้าช่วยเหลือระงับเหตุ
นอกจากนี้ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวของจีนรายงานว่า พบแผ่นดินไหวขนาด 3 ในมณฑลเจียงซู คาดว่าเกิดจากเหตุระเบิดที่โรงงานดังกล่าว

พบสารเคมีต้องห้ามเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน ตกค้างในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก

 มหาสมุทรแปซิฟิก


สารเคมีเหล่านี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางในช่วงศตวรรษที่ 20 ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่าเป็นพิษและสะสมในสภาพแวดล้อม
ดร.อลัน เจมีสัน และคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ได้เก็บตัวอย่างจากเนื้อเยื่อไขมันของแอมฟิพอด (สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งชนิดหนึ่ง) ที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยใช้ยานดำน้ำสำรวจพื้นมหาสมทุรที่ออกแบบมาพิเศษ ปล่อยจากเรือที่ลอยอยู่เหนือร่องน้ำมารีอานา และเคอร์มาเดค ลึกลงไป 10 กิโลเมตร และห่างกัน 7,000 กิโลเมตร
สารที่ไม่ย่อยสลาย
สารก่อมลพิษที่พบในตัวแอมฟิพอด รวมถึง โพลีคลอรีเนต ไบเฟนิล (PCBs) และโพลีโบรมิเนต ไดเฟนิล เอเธอร์ (PBDEs) ซึ่งใช้ในการผลิตฉนวนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุทนไฟ
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้สั่งห้ามการผลิต PCB เมื่อปี 1979 และในปี 2001 ก็มีการลงนามในอนุสัญญาสต็อกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants)
แต่ปริมาณการผลิตสาร PCBs ทั่วโลก จากช่วงปี 1930 จนถึงที่ถูกสั่งห้ามในปี 1970 คาดว่าจะมีถึง 1.3 ล้านตัน ซึ่งสารที่ถูกปล่อยสู่สภาพแวดล้อมทั้งจากอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม และการไหลซึมจากกองขยะ สามารถทนทานต่อการย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทำให้ยังคงตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อม และในผลการศึกษาระบุว่า ยากที่จะขยายขอบเขตการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนของสารที่พบบริเวณพื้นมหาสมุทรแปซิฟิก โดยสาเหตุส่วนหนึ่ง มาจากการใช้วิธีวัดค่าและเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนที่ต่างกันในผลศึกษาก่อนหน้านี้
พบสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร
รายงานระบุด้วยว่า ระดับสาร PBCs พี่พบในร่องน้ำลึกมารีอานา สูงกว่าที่พบในตัวปูจากบริเวณทุ่งนาที่รับน้ำจากแม่น้ำเลี่ยวเหอ ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดในจีน โดย ดร.เจมีสัน กล่าวว่า "แอมฟิพอด ที่เก็บตัวอย่างได้ มีระดับสารพิษปนเปื้อน มากพอ ๆ กับในอ่าวซูรุกะ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูงที่สุดของทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก"
นักวิจัยคาดว่า สาร PCBs และ PBDEs ไหลลงไปสะสมอยู่ในร่องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับขยะพลาสติกปนเปื้อนและซากสัตว์ที่จมลงสู่ใต้ทะเล ซึ่งต่อมากลายเป็นอาหารของแอมฟิพอดและสัตว์ทะเลน้ำลึกอื่น ๆ โดยคณะผู้เขียนรายงานผลการศึกษา ระบุว่า เบื้องลึกของมหาสมุทร อาจกลายเป็น "อ่างเก็บ" หรือแหล่งรวมสารมลพิษได้ นอกจากนี้ ก็ให้เหตุผลว่า สารเคมีจะสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเมื่อจมลงถึงระดับน้ำลึกในมหาสมุทร ความเข้มข้นก็จะสูงกว่าที่บริเวณใกล้ผิวน้ำ
ด้านเคเธอรีน แดฟฟอร์น แห่งมหาวิทยาลัย นิวเซาท์ เวลส์ ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า "แม้คณะนักวิจัย จะสามารถวัดความเข้มข้นของสาร PCBs และ PBDEs ได้ในตัวสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่อยู่บริเวณร่องน้ำลึกในมหาสมุทร แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลมากนักในแง่แหล่งที่มา และกลไกของการไหลมารวมกันบริเวณนี้ และยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบที่เป็นพิษของสารเหล่านี้ ซึ่งอ้างว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มปริมาณทางชีวภาพสู่ห่วงโซ่อาหาร ก็ยังรอการทดสอบอยู่" แต่อย่างน้อย ผลการศึกษานี้ก็ "เป็นหลักฐานว่าส่วนที่ลึกลงไปของมหาสมุทร ไม่ใช่ส่วนที่อยู่ห่างไกลออกไป กลับมีความเชื่อมโยงกับผิวน้ำด้านบน และยังได้รับสารมลพิษที่ก่อโดยมนุษย์ในปริมาณเข้มข้นด้วย"

สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย

สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย สารเคมีรั่วในสระว่ายน้ำ หามเด็กส่ง รพ. นับสิบราย



เหตุดังกล่าวเกิดขึ้น เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 13 มี.ค. เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพต้องระดมกำลังมาช่วยเหลือเด็กนักเรียนกว่า 20 คน ที่สำลักกลิ่นเหม็นของสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ภายในสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น หลังสารเคมีที่ผสมเตรียมไว้เกิดปฏิกิริยารั่วออกมา ขณะที่เด็กกำลังเรียนว่ายน้ำภาคฤดูร้อน  โดยเจ้าที่กู้ภัยนำเด็กที่สูดกลิ่นเหม็นของสารเคมีนำส่งโรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 9 ราย ส่วนที่เหลือผู้ปกครองได้มารับตัวนำกลับบ้าน
สาเหตุเบื้องต้นเกิดจากถังผสมสารเคมีสำหรับใช้ในการตกตะกอน ที่เจ้าหน้าที่ดูแลสระว่ายน้ำผสมไว้สารเคมีสำหรับให้น้ำตกตะกอน ประกอบด้วย โซดาแอช จุนสี สารส้ม ได้ทำปฏิกิริยาขึ้น แล้วเกิดควันพุ่งออกจากถังผสมสารเคมี จึงทำให้กลิ่นฟุ้งกระจายไปทั่วสระว่ายน้ำที่ขณะนั้นมีเด็กกำลังเรียนว่ายน้ำ
ทางเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เขต6 ขอนแก่น ได้นำเครื่องดูดกลิ่นออกจากตัวอาคาร เพื่อเตรียมเข้าไปดูจุดห้องผสมสารเคมี โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที จึงสามารถไล่กลิ่นเหม็นคลอรีนออกจากพื้นที่สระว่ายได้ทั้งหมด
ตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น เข้าตรวจสอบสระว่ายน้ำ พร้อมกับสอบปากคำคนดูแลวระว่ายน้ำเพิ่มเติม  พร้อมเข้าไปตรวจสอบภายในสระว่ายน้ำ พบว่าน้ำมีสีขุ่นและมีฟองอากาศ จากนั้นได้นำขวดน้ำเก็บน้ำภายในสระไว้ ก่อนที่จะเดินทางไปยังโรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลราชพฤกษ์ และโรงพยาบาลขอนแก่นราม เพื่อตรวจสอบรายชื่อผู้ที่เข้ารักษาตัวซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุระหว่าง 5-10 ปี  เบื้องต้นทางแพทย์ได้อนุญาตให้ผู้ที่เข้ารักษาตัวทั้ง 9 คน เดินทางกลับบ้านเป็นที่เรียบร้อย
ขณะที่ทางสระว่ายน้ำได้ประกาศหยุดให้บริการเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 14-15 มีนาคม 2559 และจะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2559
และในเวลา 09.00 น. นายพงษ์ศักดิ์  ตั้งวานิชพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จะเดินทางมาตรวจสอบร่วมกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงสาเหตที่เกิดการรั่วไหลของสารเคมีในครั้งนี้

ผลการศักษาชี้ สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูเเลผิว ทำผู้หญิงเสี่ยงมะเร็ง

ผลการศึกษาในสหรัฐฯ ชี้ว่า สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนสืบพันธุ์ผิดปกติ นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งเต้านมและภาวะมีบุตรยาก

 สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็ง



ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จเมสันในสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่ในวารสารเอ็นไวรอนเมนต์ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า สารเคมีในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวส่งผลเสียต่อฮอร์โมนของผู้หญิง รวมทั้งอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากและมะเร็งเต้านม โดยผลิตภัณฑ์ความงามมักจะมีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ เช่น พาราเบน ซึ่งเป็นสารกันเสียที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ และเบนโซฟีโนน ซึ่งเป็นตัวกรองรังสียูวี
นักวิจัยได้รวบรวมตัวอย่างมากกว่า 500 ชิ้น จากผู้หญิง 143 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 44 ปี ซึ่งไม่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และไม่ได้คุมกำเนิด การวิเคราะห์ตัวอย่างชี้ว่าผู้ที่มีสารเคมีเหล่านี้อยู่ในร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสืบพันธุ์ที่ผิดปกติ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไป มีความสัมพันธ์กับเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและประจำเดือนที่ผิดปกติ แต่ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่น้อยเกินไป จะทำให้ไข่ไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ขณะเดียวกันฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากผิดปกติก็มีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม และภาวะเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ

ตรวจสอบแล้ว สารเคมีใน ซ.พหลฯ24 เป็นอีลีเดียม 192

เจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเข้าตรวจสอบถังสารเคมีที่พบในซอยพหลโยธิน 24 แยก 2-1 ไม่ใช่กัมมันตรังสี ชนิดโคบอลต์60  แต่เป็นสารอีลีเดียม 192 ไม่พบการรั่วไหล
  ตรวจสอบแล้ว! สารเคมี ใน ซ.พหลฯ24 เป็น อีลีเดียม 192



คืบหน้าล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันสารเคมีที่พบไม่ใช่โคบอล์ต 60 ไม่มีการรั่วไหล ระบุเป็นอีลีเดียม 192 ใช้ตรวจรอยเชื่อมในภาคอุตฯ ระดับรังสีหมดลงแล้ว พร้อมระบุว่าแม้ตรวจจสอบพบว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะใช้งานและระดับรังสีหมดไปแล้ว ก็จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่สำนักงานเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ
โดยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าบริษัทใดเป็นผู้นำเข้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ การนำมาทิ้งไว้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสอบสวนต่อไปเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด

เตรียมเเบนสารเคมีมีผลต่อสุขภาพ ก่อนรับสารเคมีในผัก-ผลไม้ล้างยังไงก็ไม่หมด

 กระทรวงสาธารสุข ข่าวสดวันนี้ ผักผลไม้ สารเคมี



ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมแบนสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ 3 ชนิด ก่อนรับ สารเคมีในผัก-ผลไม้ ล้างยังไงก็ไม่หมด แนะเลือกซื้อผักและผลไม้จากเกษตรอินทรีย์

รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (2 ต.ค. 2561) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่ นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ได้ออกมาโพสต์ข้อความโจมตีทางกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ออกมาแถลงข่าวว่า ผักและผลไม้ที่วางจำหน่ายอยู่ในประเทศมีเกณฑ์ปลอดภัย และพืชผักผลไม้ที่มีสารพิษปะปนอยู่ล้างออกได้
แต่แท้ที่จริงๆ แล้ว สารที่ตกค้างส่วนใหญ่ประมาณ 60% ล้างไม่ออก  แถมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมีประมาณ 280 ชนิด แต่ส่วนใหญ่การสุ่มตรวจที่ผ่านมาของหน่วยงานราชการตรวจได้เพียง 10% ของจำนวนสารที่มีการใช้ในประเทศเท่านั้น ว่า
การล้างก็เป็นวิธีหนึ่งที่อาจทำให้สารเคมีบางอย่างลดปริมาณลง แต่ขอยืนยันว่าไม่สามารถล้างจนปลอดจากสารเคมีได้ และไม่มีวิธีใดที่ทำให้สารเคมีไม่ปนเปื้อน และเมื่อมีการบริโภคก็อาจมีการสะสมในร่างกายจนทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้
ทั้งนี้ สธ.ยืนยันว่าจะต้องแบนสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสารเคมี 3 ชนิด คือ พาราควอท, ไดลโฟเสท และ คลอไพรีฟอส และสารพิษฆ่าแมลงซึ่งมีอยู่สี่กลุ่มด้วยกัน
แต่เนื่องจากการแบนไม่ใช่หน้าที่ของ สธ. จึงจะมีการเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณา แต่หน้าที่หลักของ สธ. คือให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนที่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันจากการสุ่มตรวจพบการปนเปื้อนอยู่ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ดีเพื่อความปลอดภัยประชาชนควรเลือกซื้อผักและผลไม้จากเกษตรอินทรีย์ หรือแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ และเพื่อความปลอดภัยตั้งแต่ต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงควรผลักดันในเรื่องห้ามใช้สารเคมีสารพิษในพืชผักผลไม้ เพื่อจะได้ไม่มีสารพิษปนเปื้อนอยู่ในผลผลิต